ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
(ที่มา : นางนารินทร์ ศรีณรงค์ โรงเรียนสิงหวิทยาคม)
4. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ การทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระบบ ผู้ใช้จำเป็นต้องเลือกหาซอฟต์แวร์ให้ตรงตามความต้องการนั้น ๆ โดยเฉพาะ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน นำเสนองาน จัดทำบัญชี ตกแต่งภาพ ออกแบบเว็บไซด์ เป็นต้น นอกจากนั้นอาจต้องคำนึงถึงงบประมาณในการจัดหาซอฟต์แวร์มาใช้ด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่เพียงใด ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป และซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
4.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (general purpose software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจง ผู้ใช้จึงต้องเลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น การพิมพ์รายงาน การสร้างตารางการทำงาน การนำเสนอผลงาน เป็นต้น
1) ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดทำเอกสารทุกชนิด
เช่น รายงาน จดหมายเวียน หนังสือ ใบปลิว สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบ
เอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเก็บเป็นแฟ้มข้อมูล และสามารถนำมาเรียกมาแก้ไขใหม่ได้ ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ
ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น Microsoft Word, PageMaker, Corel Draw เป็นต้น
(ที่มา : http://www.thailibrary.in.th/2015/01/29/default-font-ms-word-2010/)
2) ซอฟต์แวร์ตารางการทำงาน (spreadsheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคำนวณ วิเคราะห์ตัวเลข เพื่อใช้งาน
ในด้านการเงิน บัญชี สถิติ คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางการทำงานประกอบด้วยตาราง
ขนาดใหญ่สำหรับใส่ตัวเลข ข้อความ สูตรการคำนวณ ซึ่งมีเครื่องคำนวณเตรียมไว้สำเร็จ สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือ
เงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้สามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางการทำงานที่นิยมใช้
เช่น Microsoft Excel, Openoffice Cale ในโปรแกรมชุด Pladao Office เป็นต้น
(ที่มา : http://www.tipfornet.com/2013/04/microsoft-excel-2010.html)
3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (database management software) การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง คือ
การใช้เก็บข้อมูลและการจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้น เรียกว่า ฐานข้อมูล
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เพื่อช่วยในการจัดเก็บเรียกค้นทำงาน และสรุปผลข้อมูลใน
เครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น Dbase, Paradox, Foxbase, Microsoft Access เป็นต้น
(ที่มา : https://tecnology4blog.wordpress.com/2016/02/10/ซอฟต์แวร์ประยุกต์/)
4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (presentation software) เป็นโปรแกรมที่ใช้นำเสนอข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ สร้างเอกสาร
ที่ประกอบไปด้วยตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว โดยแสดงออกมาทีละรายการ รวมทั้งยังสามารถใส่เสียงประกอบ
การนำเสนอได้ สามารถกำหนดระยะเวลาการแสดงและกำหนดจุดเชื่อมโยงไปยังหน้าที่ต้องการได้ เพื่อใช้ประกอบ
การบรรยายและการนำเสนอผลงานทั้งด้านธุรกิจและการศึกษา ซอฟต์แวร์นำเสนอที่นิยมใช้ เช่น Micorsoft office Powerpoint,
Openoffice Impress, Pladao Office เป็นต้น
(ที่มา : http://www.9experttraining.com/powerpoint-advanced-training-course)
5) ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย (graphice and multimediasoftware) เป็นกลุ่มซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่
พัฒนาขึ้นสำหรับจัดการงานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย มีความสามารถเสมือนเป็นผู้ช่วยในการออกแบบชิ้นงานเกี่ยวกับ
การตกแต่งภาพ วาดภาพ ปรับเสียงตัดต่อภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการสร้างและออกแบบพัฒนาเว็บไซด์ ซอฟต์แวร์ทาง
ด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย เช่น Adobe InDesign, Adobe IIIustrator, Adobe Photoshop, Macromedia Dremweaver เป็นต้น
(ที่มา : http://panida-photoshop.blogspot.com/)
6) ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บไซด์และการติดต่อสื่อสาร (Web site andcommunications software) การเติบโต
ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างเพิ่มมากขึ้น มีทั้งการาตรวจเช็คอีเมล เข้าเว็บไซต์
การจัดการและดูแลเว็บไซต์ ส่งข้อความติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอย่างซอฟต์แวร์การใช้
งานบนเว็บไซต์ และการติดต่อสื่อสาร เช่น Microsoft Outlook, Microsoft Netmeeting, MSN Messenger/Windows Messenger
เป็นต้น
https://www.youtube.com/watch?v=n-26bs8GpLA
Comments
Post a Comment